Manik: The Home of the Manikkrams
"ม่าหนิก" ชื่อนี้หลายคนได้ฟังแล้วอาจคิดว่าทั้งแปลก และเท่ ข้อเท็จจริงของชื่อ "ม่าหนิก" นั้น ค้นพบว่ายาวนาน ดังมีหลักฐานจากศิลจารึกที่ 26 เขาพระนารายณ์ อำเภอตะกั่วป่า มีหลักฐานปรากฎอยู่ในศตวรรษที่ 14 ศาสตราจารย์จอร์จ เซเดย์ เป็นผู้แปลจากหลักศิลาจารึนี้ เดิมที พวกทมิฬหรือโจฬะ อยู่ทางตอนใต้ของอินเดีย เข้ามาค้าขายกับประเทศไทย แล้วมาปักหลักอยู่ที่ตะกั่วป่า เขาพระนารายณ์ จนขยายมาทำการค้าในภูเก็ต แล้วปักหลักอยู่ในถิ่นฐานนี้เรียกว่าหมู่บ้านม่าหนิคครัม

Heading
This is some text inside of a div block.
Manikkram Merchants & the Okra

เมื่อคนไทยเรียก จากม่าหนิครัม จึงเพี้ยนมาเป็น ม่าหนิคคราม แล้วจึงเหลือเพียง "ม่าหนิก" และมีวัตถุดิบชุมชนที่ขึ้นชื่ออย่าง กระเจี๊ยบเขียว
The Local Slangs
ชาวชุมชนม่าหนิกนั้นอาชีพหลักคือทำสวน โดยชาวชุมชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ สื่อสารด้วยภาษาใต้ภูเก็ต เป็นหลัก ศัพท์ที่น่าสนใจที่ชาวชุมชนเล่าให้ฟัง มีทั้งบีโกหมอย ที่หมายถึง ข้าวเหนียวดำราดกะทิสด บิ่นผูน ที่แปลว่า กะละมัง ซึ้ง หมายถึง น้ำแข็ง และดานเตี๊ยม คือเขียง ส่วนภาษาอื่นที่ใช้ร่วมด้วย มีทั้งภาษากลางและภาษาอังกฤษร่วม